Latest Entries »

การอ่านแท็บ (Tablature)

การอ่านแท็บกีต้าร์, ตัวอย่าง tab 

       การอ่านแท็บ

การอ่านแท็บสายกีต้าร์จะแทนด้วยเส้นทั้งหมด 6 เส้น เส้นบนสุดคือสาย 1 ของกีต้าร์ไล่ลงมาเป็นสาย 2 – 3 – 4 – 5 ถึงเส้นสุดท้ายคือสาย 6 โดยตัวเลขที่อยู่บนแท็บจะหมายถึงตำแหน่งที่ต้องกดว่าจะต้องกดที่ช่องใดบนฟิงเกอร์บอร์ด ของสายนั้นๆ( เลข “0” หมายถึง การดีดสายเปล่า ) และถ้าตัวเลขที่อยู่บนเส้นอยู่ในตำแหน่งเดียวกันในแนวตั้งดังรูปด้านบนก็ให้ดีดพร้อมกัน ยกตัวอย่างถ้าตรงกัน 2 สองสายก็ดีดพร้อมกันแค่สองสาย ถ้าตรงกันทั้งหมด 6 สายก็ให้ดีดพร้อมกันทั้ง 6 สาย เช่น ตัวอย่าง TAB ด้านบน ตัวเลขด้านขวามือสุด เป็นการจับคอร์ด G แล้วดีดพร้อมกันทั้ง 6 สาย (โดยมากแล้วถ้าตัวเลขอยู่ในแนวเดียวกันตั้งแต่ 3 ตำแหน่งขึ้นไปจะเป็นการจับคอร์ด ) เช่นรูปด้านบน เป็นการจับคอร์ด G จาก TAB ด้านบน การเล่นทั้งหมดคือ ( ดีดสายเปล่าสาย 6 –> ตามด้วยดีดสาย 6 ช่อง 2 –> ดีดสาย 6 ช่อง 3 –> และดีดคอร์ด G ) จะมีการดีดทั้งหมด 4 ครั้ง

       สัญลักษณ์เบื้องต้นที่ใช้ใน TAB

  • h   =    hammer on
  • p   =    pull off
  • b   =   bend string up  (ดันสายขึ้น)
  • r    =   release bend  (ดันสายค้างไว้ ดีดแล้วจึงผ่อนสายลง)
  • /   =   slide up  (สไลด์ขึ้น)
  • \    =    slide down  (สไลด์ลง)
  • s   =    legato slide  (การสไลด์ไปยังโน๊ตตัวอื่นโดยไม่ต้องดีดซ้ำ)
  • v, ~   =    vibrato  (ทำเสียงสั่น)
  • tr   =   trill  (การรัวนิ้ว)
  • T   =    tap  (การเล่น Tabping)
  • x   =   on rhythm muted slash  (การให้จังหวะโดยทำเสียงบอด)

 การเกากีต้า

การเกากีตาร์หรือที่เรียกว่า picking เป็นสไตล์ในการเล่นกีตาร์อีกแบบที่มีความไพเราะเป็นเอกลักษณ์ แต่ก่อนที่จะฝึกเกากีต้าร์ควรจะต้องฝึกการตีคอร์ดให้คล่องก่อน ทั้งการเปลี่ยนคอร์ดและจังหวะการดีดให้สัมพันธ์กันก่อนนะครับ
การวางมือนั้นมือจะอยู่เหนือสายนิดหน่อย ใช้สันนิ้วโป้งเตะพักไว้ที่สาย 6 เพื่อช่วยพยุง หรืออาจจะใช้นิ้วก้อยเตะที่ตัวกีต้าร์ช่วยพยุงก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน

ลักษณะการวางมือในการเกากีต้าร์

การวางมือในการเกากีต้าร์

การวางมือในการเกากีต้าร์

       หน้าที่ของแต่ละนิ้ว

นิ้วโป้ง ใช้ในการดีดลง จะใช้ดีดสายเบส Bass ทั้งหมด คือสาย 4 – 5 – 6 – นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง จะใช้ในการเกี่ยวสายขึ้น โดยนิ้วชี้ใช้เกี่ยวสาย 3 นิ้วกลางใช้เกี่ยวสาย 2 นิ้วนางใช้เกี่ยวสาย 1 ตามลำดับส่วนนิ้วก้อยไม่ค่อยได้ใช้ในการเกากีตาร์แต่ก็อาจจะไม่เสมอไปก็แล้วแต่ว่าใครจะพลิกแพลงเล่นดูก็ได้เพราะที่กล่าวมานั้นไม่ได้เป็นกฎตายตัว ว่าจะต้องเล่นตามที่กล่าวมา แต่ในการฝึกนั้นให้ใช้นิ้วตามที่กล่าวไว้ก่อนเพราะการวางนิ้วแบบที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นพื้นฐานที่ในการเกากีต้าร์

การเกากีตาร์มักจะเริ่มด้วยสายเบสก่อน โดยการใช้นิ้วโป้งดีดลง โดยดีดสายที่เป็นโน๊ต Root ของคอร์ด โน๊ต Root คือโน้ตตัวแรกของคอร์ดนั้นๆ เช่น คอร์ด C ก็จะเป็นโน้ต C ก็จะอยู่ที่สาย 5 ก็ดีดสาย 5 ก่อน คอร์ดอื่นๆก็พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

ถ้าเล่นคอร์ด D, F ให้ดีดสายเบสเส้นที่ 4 (ถ้าคอร์ด F จับแบบทาบให้ดีดสายเบสเส้นที่ 6)

ถ้าเล่นคอร์ด A, B, C ให้ดีดสายเบสเส้นที่ 5

ถ้าเล่นคอร์ด E, G ให้ดีดสายเบสเส้นที่ 6

เมื่อดีดสายเบสแล้วจึงตามด้วยสายอื่นตามมา คือ 3 สายล่างที่เหลือ อย่าลืมว่าต้องใช้นิ้วที่ประจำอยู่ของแต่ละสายให้ถูกต้องตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้

สัญลักษณ์ที่แทนนิ้วต่างๆใน TAB ที่ใช้ฝึก       สัญลักษณ์ต่อไปนี้จะใช้ในการฝึกเกากีต้าร์โดยจะใช้ในแบบฝึกต่อจากนี้

– นิ้วโป้ง แทนด้วย T

– นิ้วชี้ แทนด้วย 1

– นิ้วกลาง แทนด้วย 2

– นิ้วนาง แทนด้วย 3

รูปแบบการเกาในแบบต่างๆต่อไปนี้ ให้ฝึกที่ละแบบจนคล่องก่อน แล้วค่อยฝึกแบบต่อๆไป แบบฝึกต่อไปนี้จะเป็นพื้นฐานของการเกากีต้าร์เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหัดเล่น ไม่ยากจนเกินไป ยังมีรูปแบบการเกาอื่นๆ อีกมากมายและไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัวอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินแต่ละคนที่จะแต่งออกมา

การอ่าน TAB ในการฝึกต่อไปนี้จะเป็นแท็บมือขวา โดยจะบอกเลยว่าใช้นิ้วไหนดีดสายไหน โดยจะแทนนิ้วต่างๆด้วยอักษร และ ตัวเลข ตามที่ได้อธิบายไว้ด้านบน

แบบฝึกในการเกากีต้าร์

แบบฝึกที่ 1Tab ฝึกเกากีต้าร์ 1

แบบฝึกที่ 2 Tab ฝึกเกากีต้าร์ 2

แบบฝึกที่ 3 Tab ฝึกเกากีต้าร์ 3

แบบฝึกที่ 4 Tab ฝึกเกากีต้าร์ 4

แบบฝึกที่ 5 Tab ฝึกเกากีต้าร์ 5

แบบฝึกที่ 6 Tab ฝึกเกากีต้าร์ 6

แบบฝึกที่ 7 Tab ฝึกเกากีต้าร์ 7

การจับปิคกีต้าร์

ปิคกีต้าร์นั้นมีหลายแบบหลายรูปทรง แต่ที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปก็คือ ปิคแบน (flat pick) ที่เห็นกันอยู่ทั่วไปก็จะมีอยู่ 2 ทรงคือ รูป 3 เหลี่ยม แล้วก็ รูปหยดน้ำ มีให้เลือกตามขนาดความหนาของปิค ตั้งแต่ บาง , ปานกลาง และ หนา ส่วนจะเลือกใช้ขนาดไหน ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ในการเล่นตีคอร์ดนั้นแนะนำให้ใช้ปิคแบบบาง เพราะจะเกิดแรงต้านกับสายน้อยเล่นแล้วจะรู้สึกพริ้วไหวไม่สะดุด ส่วนการเล่น Solo นั้นใช้ได้ทุกขนาดขึ้นอยู่กับความชอบความถนัดของแต่ละคน
การจับปิคนั้นให้วางปิคลงด้านบนสันของปลายนิ้วชี้ นิ้วชี้อยู่ในลักษณะงอเข้าหาปลายนิ้วโป้ง แล้วใช้นิ้วโป้งกดทับตัวปิค การจับไม่ได้จับจนแน่นมากให้จับพอกระชับไม่ให้หลุด ปลายปิคเลยออกมาจากนิ้วประมาณ 3-4 มิล ไม่สั้นหรือยาวออกมามากจนเกินไป ปิคต้องอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับสายหรือเกือบจะตั้งฉากกับสาย และเอียงตัวปิคประมาณ 45 องศา เพื่อลดแรงประทะกับสายในขณะดีด ทำให้ดีดได้คล่องและไม่รู้สึกติดขัด

การจับปิคกีต้าร์

การจับปิคกีต้าร์ เอียงปิคประมาณ 45 องศา

 การจับคอร์ดกีตาร์

การจับคอร์ดนั้นให้นั่งในท่าที่ถนัด ใช้มือกำหลวม ๆ ที่คอกีตาร์ ถ้าเป็นการจับคอร์ดที่ไม่ใช้คอร์ดทาบ จะใช้นิ้วโป้งประคอง ด้านหลังคอกีต้าร์เพื่อให้กระชับมั่นคงและช่วยให้มีแรงกดสายมากขึ้น การจับสายนั้นจะต้องโก่งนิ้วที่จับสายอยู่ พยายามให้ปลายนิ้วที่กดสายตั้งฉากกับฟิงเกอร์บอร์ด มากที่สุด เพราะถ้านิ้วราบไปกับคอกีต้าร์จะทำให้โดนสายอื่นทำให้เสียงบอด ส่วนตำแหน่งการกดให้กดลงในช่องกลางระหว่างเฟร็ต หรือ ค่อนลงมานิดหน่อย แต่นิ้วยังไม่โดนเฟร็ต ถ้านิ้วโดนเฟร็ตขณะกดสายจะทำให้เสียงบอร์ด

การจับคอร์ดกีต้าร์

การจับคอร์ดกีต้าร์ ใช้นิ้วโป้งประคองด้านหลังคอกีต้าร์
การจับคอร์ดกีต้าร์

การอ่านคอร์ด

คอร์ดพื้นฐาน

การหัดจับคอร์ดกีต้าร์ควรจะหัดจับคอร์ที่ง่ายๆประมาณ2-3คอร์ดก่อนพอเริ่มจับได้2-3คอร์ดแล้วค่อยมาหัดจับคอร์ดอื่นๆต่อไป ลองหัดจับคอร์ดตามด้านล่างนี้ดูนะครับเป็นคอร์ดที่จับได้ไม่ยากมากเหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นเล่นครับ..

คอร์ดพื้นฐาน

 สไตล์รูปแบบ์ต่าง ๆ ของการเล่นกีตาร์ ต่อไปผมจะกล่าวถึงสไตล์การเล่นกีตาร์ในแบบต่าง ๆ เท่าที่ผมพอจะมีความรู้นะครับ สำหรับตัวผมเองแล้วผมชอบกีตาร์ในทุก ๆ สไตล์ฟังแล้วทำให้รู้จักกีตาร์ในแบบต่าง ๆ มากขึ้นโดยที่เราอาจจะรู้จักกีตาร์ในแบบต่าง ๆ เช่น แนวร็อค(รู้สึกเป็นที่สนใจในหมู่วัยรุ่นเพราะมันสะใจดี) แนวคลาสสิก , บลูส์ แจ๊ส ,โฟล์ค เป็นต้น

                    1. แนวคลาสสิก ถือเป็นแนวที่เก่าแก่ที่สุดของกีตาร์มัเล่นในหมู่ชนชั้นสูง(หมายถึงสมัยก่อน)มีรูปแบบการเล่นที่สวยงาม ท่วงทำนองไพเราะมากสามารถเล่นได้ทั้งริทึ่ม การเล่นโซโล การเล่นประสานได้ในตัวเดียว เพลงคลาสสิกจะถูกแต่งขึ้นอย่างปราณีต ดังนั้นจึงค่อนข้างจะยากสำหรับผู้ที่คิดจะหัดเอง เนื่องจากต้องสามารถอ่านและเข้าใจโน็ตดนตรีเป็นอย่างดี รวมถึงการอ่านจังหวะและสัญลักษณ์ทางดนตรีต่าง ๆ และที่สำคัญราคาในการเรียนค่อนข้างสูง ทำให้คนทั่ว ๆ ไปอาจไม่สามารถจะไปเรียนได้ (ผมก็อยู่ในกลุ่มนั้น)

                    ยังมีอีกสไตล์ที่ผมขอกล่าวรวมอยู่ในสไตล์คลาสสิก คือ สไตล์ฟลาเมนโก้เพราะค่อนข้างใกล้เคียงกันต่างกันที่สไตล์การเล่น ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมที่มีกำเนิดจากในสเปนจะมีรูปแบบการเล่นสำเนียงเฉพาะตัวเช่นการดีดแบบ rasgueado (จะอธิบายในส่วนของการเล่นเทคนิคอีกที) ซึ่งค่อนข้างโดดเด่นมากสำหรับฟลาเมนโก้สไตล์ ซึ่งสไตล์นี้มีจังหวะค่อนข้างจะสนุกสนาน และใช้ประกอบกับการเต้นรำอย่างที่เราเคยเห็นใน TV เกี่ยวกับสเปน ตัวอย่างเช่น paco de lucia เป็นต้น

                    2. แนวโฟล์ค คันทรี เกิดจากการเผยแพร่การเล่นกีตาร์ไปสู่คนผิวดำที่เป็นทาส และพัฒนารูปแบบไปเรื่อย ๆ ในหมู่ชาวบ้านสามัญชนทั่วไป ซึ่งมักจะเป็นกสิกร หรือ ทำฟาร์ม และเล่นในยามพักผ่อนจากการทำงานเพลงจึงมีลักษณะที่เรียบง่ายสบาย ๆ จังหวะสนุกสนานเล่าถึงวิถีชีวิตชาวบ้านอาจจะแบ่งได้เป็น

                    – บลูกล๊าสสไตล์ เป็นดนตรีพื้นบ้านมักมีการเล่นร่วมกับ แบนโจ ไวโอลิน แมนโดลิน ใช้กีตาร์ตัวนึงเป็นริทึ่ม อีกตัวใช้โซโล จังหวะสนุกสนาน เป็นเพลงบรรเลง หรือมีคนร้องด้วย

                    – ปิ๊คกิ้งสไตล์ คือการเกาหรือเล่นกีตาร์ด้วยนิ้วนั่นเองอาจจะเล่นตัวเดียวหรือ 2 ตัวประสานกัน มีความละเอียดในการเล่นมากพอสมควรเล่นค่อนข้างยาก ต่างกับบลูกล๊าสที่มักใช้ปิคมากกว่าเช่น Simaon & Garfunkel เป็นต้น

                    – โฟล์คสไตล์ เป็นดนตรีพื้นบ้านที่มีการเล่นที่อาจจะเป็นการเกากีตาร์ การใช้ปิคดีด การเล่นประสานกันตั้งแต่ 2ตัวขึ้นไป มีการร้องประสานเสียงกันส่วนมากจะกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันทั่วไป เช่น peter paul & mary

                    จริงแล้วทั้ง หมดรวมเรียกว่าเป็นสไตล์โฟล์ค ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจในความแตกต่างกันมากนักเท่าที่ผมได้รู้มานั้น ส่วนใหญ่บลูกล๊าสจะเป็นเพลงบรรเลง และฟิงเกอร์สไตล์ด้วยเช่นกัน แต่บางครั้งก็มีการร้องประกอบด้วย

 

                    3. บลูส์สไตล์ กำเนิดจากชนผิวดำที่เป็นทาสได้รับเอาเครื่องดนตรีชนิดนี้มากและพัฒนาเข้ากับดนตรีแบบของเขา ซึ่งส่วนใหญ่ในยุคแรกจะเป็นเพลงที่เศร้าเนื่องจากบรรยายถึงความเหนื่อยยากที่เป็นทาส และดนตรีบลูส์นี้เองเป็นพื้นฐานที่สำคัญของดนตรีอีกหลายประเภทเหลือเกินตั้งแต่ แจ๊ส โฟล์ค รวมไปถึงร็อคอีกด้วย สามารถแบ่งคร่าว ๆ เป็น

                    – อาคูสติกบลูส์ คือใช้กีตาร์โปร่งเล่นนั่นเองซึ่งในยุคแรกก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ จะมีการผสมผสานระหว่างการใช้ปิค และนิ้วร่วมกันในการดีด นอกจากนี้อาจมีการใช้สไลด์เล่นอีกด้วย เช่นในชุด unplug ของ eric clapton

                    – อีเล็คทริกบลูส์ เป็นยุคหลังที่มีกีตาร์ไฟฟ้าแล้ว จึงมีการนำดนตรีบลูส์มาเล่นกับกีตาร์ไฟฟ้ามีการโซโลที่ไพเราะและหนักแน่น เช่นแบบ BB. King หรือ Robert cray

                    4. แจ๊ส เป็นอีกสไตล์ที่พัฒนามาจากบลูส์ซึ่งรายละเอียดในการเล่นจะยากขึ้นไปกว่าดนตรีบลูส์ และมีทั้งแบบอาคูสติกและิเล็คทริกเช่นกัน เช่น Larry Carlton เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสไตล์อื่นที่มีลักษณะของแจ๊สอยู่ พอจะยกตัวอย่าง ได้แก่

                    – Bossanova ซึ่งที่ดังมากได้แก่ Antonio Calos Jobim กับเพลง Girl from ipanema เป็นต้น

                    – Samba หรือ สไตล์ประจำของบราซิล ซึงมีโครงสร้างคล้ายกับดนตรีแจ๊สเช่นกัน

                    5. ป๊อปสไตล์ ก็คือสไตล์ที่เล่นกับเพลงป๊อปหรือเพลงทั่ว ๆ ไป

                    6. ร็อคสไตล์ มีการพัฒนามาจากบลูส์เช่นกันมีความหนักแน่นในจังหวะและท่วงทำนอง และมีการเล่นที่น่าสนใจทั้งการโซโล ที่มีลูกเล่นเทคนิคมากมาย การปรับแต่งเสียงของกีตาร์ การใช้เอฟเฟ็คต่าง ๆ จึงเป็นที่นิยมและคลั่งไคล้ของกลุ่มวัยรุ่น อยากเก่งเหมือนนักกีตาร์ร็อคดัง ๆ ซึ่งร็อคอาจแบ่งไดเป็น

                    – บลูส์ร็อค เป็นการผสมระหว่างเพลงบลูส์กับร็อคเช่นแบบ Gary Moore หรือ Stevie ray Vaughan เป็นต้น

                    – โฟล์คร็อค มีการผสมผสานกันของเพลงโฟล์คกับร็อค เช่น Eagles เป็นต้น

                    – นีโอคลาสสิก เป็นการนำเอารูปแบบของดนตรีคลาสสิกมาผสมผสานกับดนตรีร็อค ซึ่งตอนนี้เป็นที่สนใจอย่างมาก ผู้ที่บุกเบิกทางนี้ได้แก่ Randy Rhoad ซึ่งเสียชีวิตไปแล้วแต่ปัจจุบันคุณจะรู้จัก นีโอคลาสสิก กับ Yngwie Malmsteen หรือ Vinnie Moore เป็นต้น

                    – เฮฟวี่เมทัล พัฒนาไปจากดนตรีร็อคมีความหนักหน่วงขึ้นเช่น Metallica , Megadeath เป็นต้น

                    นอกจากนี้ยังมีแนว Progressive rock เช่นแบบของ Dream thearter หรือแนว Alternative ที่มี Nirvana เป็นผู้สร้างชื่อเสียงเป็นต้น หรือแนวอื่น ๆ อีกเช่น แนว Funk , reggae หรือแนว death metal เป็นต้น

                    สำหรับสไตล์ที่ผมถนัดและทำโฮมเพจนี้ขึ้นมาคือจะพยายามยามเน้นไปทางการเล่นในแบบฟิงเกอร์สไตล์ซึ่งได้นำไปเล่นกับเพลงหลากหลายแนวเพลงทั้งแบบโฟล์ค คันทรี่ บลูกราส บลูส์ แจ๊ส ซึ่งนับว่าเป็นสไตล์การเล่นกีตาร์ที่น่าสนใจมากครับสามารถนำไปประยุกต์เล่นกับเพลงได้หลากหลายแนวเพลง

                    ที่ผมได้กล่าวถึงสไตล์การเล่นแบบต่าง ๆ ในตอนนี้เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ลองนึกดูซิว่าเราชอบในแบบไหนหรือสนใจสไตล์ไหนเป็นพิเศษ แต่แน่นอนครับไม่ว่าคุณจะสนใจสไตล์ไหนก็ตามเราก็ต้องรู้พื้นฐานของมันก่อนทั้งนั้นซึ่งเมื่อคุณรู้พื้นฐานแล้วคุณสามารถที่จะไปศึกษาหาความรู้ต่อไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เช่นเดียวกับเมื่อคุณถีบจักรยานเป็นก็ไม่ยากนักที่จะหัดมอเตอร์ไซด์ หรือขับรถเกียร์ธรรมดาเป็น ก็ขับเกียร์ออโต้ได้ไม่ยากเย็นนักหรอกครับ

 

  การจับคอร์ดกีตาร์ ใช้มือที่จะจับคอร์ด กำหลวม ๆ ที่คอกีตาร์ในท่าที่ถนัด ใช้นิ้วโป้งเป็นนิ้วประคอง สำหรับบางคน(โดยเฉพาะคนที่เล่นกีตาร์คลาสสิก) อาจจะจับคอกีตาร์โดยใช้นิ้วโป้งยันกับคอกีตาร์(เช่นในรูป)แทนที่จะกำรอบคอ ให้นิ้วทั้งสี่โก่งและตั้งฉากกับฟิงเกอร์บอร์ดมากที่สุด (อาจจะเข้าใจยากนิดนึงลองฝึกดู) เพื่อไม่ให้นิ้วไปโดนสายอื่นทำให้เสียงบอด

l-hand.gif (5474 bytes)l-hand1.gif (5255 bytes)l-hand2.gif (4809 bytes)pick.gif (3857 bytes)

                    ส่วนที่กดสายกีตาร์คือส่วนปลายนิ้วทั้งสี่ และกดลงบนสายที่ระหว่างเฟร็ตหรือกลางช่อง หรือค่อนไปทางเฟร็ตตัวล่าง โดยที่นิ้วโป้งจะช่วยประคอง และช่วยเพิ่มแรงกดเวลาจับคอร์ดทาบ

                    การทาบ (bar) ก็คือการใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่ง (ส่วนมากจะเป็นนิ้วชี้) ทาบสายกีตาร์ตั้งแต่สองสายขึ้นไป เราจะคุ้นเคยกับคำว่าคอร์ดทาบ (bar chord) เช่นคอร์ด F Bb เป็นต้น ซึ่งคอร์ดทาบนี้ค่อนข้างเป็นสิ่งน่ากลัวในความคิดของมือใหม่ เนื่องจากมักจะบอด จับยาก เมื่อยและเจ็บนิ้วด้วย แต่ไม่ต้องกลัวครับลองใช้นิ้วโป้งของคุณช่วยกดที่หลังคอกีตาร์ตรงกลางคอจะทำให้คุณมีแรงกดมากขึ้นครับ หรืออีกวิธีคือการใช้นิ้วอื่น(ที่ว่าง ไม่ได้กดเส้นใด ๆ ) มาช่วยกดทับอีกชั้นหนึ่งก็ช่วยได้มากครับ

 

        การใช้งานมือขวา

 

rhand.gif (5246 bytes)

                     สำหรับมือขวาในการเล่นกีตาร์จะมีหน้าที่ทำให้เกิดเสียงไม่ว่าด้วยการดีดด้วยนิ้วหรือการเกา การดีดด้วยปิคล้วนแต่ควบคุมด้วยมือขวาทั้งนั้น โดยหน้าที่ของแต่ละนิ้วนั้นสรุปคร่าว ๆ ได้แก่ ถ้าจับปิคดีดจะจับด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้ง แต่ถ้าคุณเล่นเกาแล้ว นิ้วโป้งจะมีหน้าที่ควบคุมเสียงเบส(หมายถึง 3 เส้นบน)เป็นส่วนมาก และนิ้วชี้ กลาง และนิ้วนาง จะควบคุม 3 สาย ล่างเป็นหลัก ส่วนนิ้วก้อยนั้นถึงแม้ไม่มีส่วนในการดีด แต่บางคนก็มักใช้นิ้วก้อยยันกับตัวกีตาร์เวลาเกา นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการเล่นกีตาร์ลี๊ดเช่นการใช้บังคับคันโยก การปรับปุ่ม tone หรือ volume เวลาลี๊ดกีตาร์ไฟฟ้า(เทคนิคดังกล่าวจะพูดในภายหลังนะครับ) นอกจากส่วนของนิ้วมือแล้ว สันมือก็ใช้ในการทำเสียงบอด(mute) ได้เช่นกันซึ่งจะได้กล่าวในเรื่องของการใช้เทคนิคมือขวาต่อไป

                การดูแลโดยทั่วไปสำหรับมือขวานะครับคือไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไปโดยเฉพาะ นิ้วชี้ ,กลาง และนิ้วนางเพราะจะทำให้ดีดสายกีตาร์หรือแม้แต่จับปิคได้ไม่สะดวก แต่อาจไว้เล็บพอประมาณเพื่อใช้เกากีตาร์

                สำหรับผู้ที่ถนัดซ้ายนั้นการเล่นก็จะกลับกับคนถนัดขวาคือ มือซ้ายจะใช้ดีด แต่มือขวาจะมาจับคอร์ดแทน ซึ่งกีตาร์สำหรับคนถนัดซ้ายนั้นก็มีขายนะครับ แต่ถ้ามันหายากนักผมว่าก็ใช้กีตาร์ของแบบถนัดขวา(แต่พยายามอย่าเลือกแบบคอเว้า หรือมีปิคการ์ดด้านล่างนะครับ) แล้วก็ใส่สายใหม่โดยกลับสายจากสายบนสุด ไปใส่ล่างสุดแทนก็ได้ แต่ก็มีนะครับนักกีตาร์มีซ้ายที่ใช้กีตาร์แบบเล่นมือขวามากลับพลิกแล้วเล่นเลยไม่ต้องเปลี่ยนสงเปลี่ยนสายให้เสียเวลา ดังนั้นสาย 1 จะมาอยู่บน สาย 6 จะไปอยู่ล่าง เช่น นักกีตาร์โฟล์คหญิงที่ชื่อ Elizabeth Cotten แต่ผมก็ไม่รู้นะครับว่าเค้าเล่นยังไงเคยฟังแต่เพลงเค้าเก่งจริง ๆ ครับและก็ยังมีอีกเป็นนักกีตาร์บลูส์แต่ผมลืมชื่อไปแล้ว ดังนั้นคนที่ถนัดซ้ายไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรผมว่าเท่ซะอีก และนักกีตาร์มือซ้ายที่โด่งดังเช่น jimi hendrix สุดยอดคนหนึ่งของวงการกีตาร์และ kurt cobain แห่ง nirvana ผู้ล่วงลับ เป็นต้น

การใช้งานมือซ้าย

lhand.gif (4017 bytes)

                ในที่นี้จะหมายถึงผู้ที่ถนัดขวานะครับถ้าถนัดซ้ายก็จะตรงกันข้าม สำหรับหน้าที่หลักของมือซ้ายก็คือการจับคอร์ด การให้ระดับเสียงของโน๊ตดนตรี(ด้วยการกดนิ้วไปแต่ละเฟร็ต) ซึ่งเราจะใช้นิ้วทั้ง 5 เพื่อช่วยในการเล่นกีตาร์ เช่นการจับคอร์ด ลี๊ดเป็นต้น …ถึงตรงนี้บางคนอาจสงสัยว่า   เอ…ใช้นิ้วโป้งด้วยหรือ ใช้ยังไงล่ะ …ก็ขอตอบว่าใช้ครับในบางกรณี โดยเฉพาะเพลงในแบบ ฟิงเกอร์ สไตล์(สไตล์นิ้วหรือเกานั่นแหล่ะครับ) หรือการจับคอร์ดบาร์(bar chord) หรือคอร์ดทาบ นิ้วโป้งมีประโยชน์มาก ซึ่งผมจะกล่าวรายละเอียดในขั้นต่อไป นอกจากใช้จับคอร์ด ใช้ลี๊ดแล้ว ยังรวมถึงการเล่นเทคนิคต่าง ๆ เช่นการดันสาย สไลด์ hammer on pull off หรือทำเสียงบอด(mute) เป็นต้น

                การดูแลรักษามือซ้ายนั้นไม่ควรจะไว้เล็บให้ยาวเกินนิ้วออกมาเพราะจะเป็นอุปสรรคกับการกดนิ้วบนคอกีตาร์แน่นอน และยังจะทำให้เจ็บนิ้วอีกด้วย และพยายามอย่าไปกังวลกับหนังที่ปลายนิ้วที่มันจะแข็งขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อคุณเล่นกีตาร์บ่อย ๆ เดี่ยวมันก็ลอกไปเองครับ…

                                                           

การจัดทางทางการเล่นกีตาร์แบบต่าง ๆ

                คงจะไม่มีข้อกำหนดตายตัวอะไรในเรื่องของการจัดท่าทางการเล่นกีตารว่าต้องเล่นท่านั้นท่านี้ ซึ่งคุณอาจจะเห็นมาแล้วทั้งนั่ง ยืน วิ่ง กระโดด จนกระทั่งนอนเล่น (ท่าประหลาด ๆ มักพบกับดนตรีร็อคซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ถือว่าประหลาดแต่ว่ามันส์ต่างหาก) ดังนั้นผมคิดว่าขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ ความเหมาะสมและอารมณ์ต่างหาก แต่ผมจะแบ่งให้ทราบเพียงคร่าว ๆ เพื่อประดับความรู้เท่านั้นส่วนจะชอบแบบไหนแล้วแต่ถนัดครับ

            1. การนั่งเล่น ส่วนใหญ่จะเป็นกีตาร์คลาสสิก ฟลาเมนโก้ แจ๊ส หรือ ดนตรีประเภทอาคูสติกที่มีรายละเอียดในการเล่นมากจึงไม่สะดวกในการยืนเล่นโดยเฉพาะการเล่นกีตาร์คลาสสิกหรือฟลาเมนโก้จะมีท่าเฉพาะที่เป็นรูปแบบในการเล่นต่างหาก ซึ่งอาจจะวางกีตาร์บนหน้าขาขวาหรือซ้ายเช่นรูปแรกเป็นแบบคลาสสิก รูปที่ 2 และ 3 เป็นการนั่งเล่นกีตาร์โฟล์คทั่ว ๆ ไป รูปที่ 4เป็นแบบฟลาเมนโก้ เป็นต้น

 

            2. การยืนเล่น บนเวทีแสดงทั่ว ๆ การยืนเล่นก็เป็นที่นิยมโดยเฉพาะเพลงประเภท pop rock หรือเพลง folk country เป็นต้น เนื่องจากมีอิสระในการเล่นมากกว่าดังรูปข้างล่างนี้